วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สื่อการเรียนการสอน

                         สื่อ
สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางที่นำมาช่วยใน การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม หรือทักษะที่ ตนมีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเด็กเกิดการเรียนรู้ตาม จุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด

ความสำคัญของสื่อ
   1. เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ
   2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่า นิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน
   3. เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วย ความสนใจ และไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ เรียน
   4. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ตรง


ชนิดของสื่อการสอน
   1. ครู
เป็นสื่อที่นับได้ว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นผู้ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในการเรียนรู้และเป็นสื่อที่จะนำสื่ออื่น ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน หากปราศจากครู การเรียนการสอนก็จะไม่มีผลต่อเด็กในวัยนี้อย่างแน่นอน
   2. สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
สื่อชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องจัดหาหรือทำขึ้น เพราะมีอยู่ตามธรรมชาติ เพียงแต่ผู้ใช้จะต้องเลือกตามความมุ่งหมาย เช่น การสอนเรื่องวงจรชีวิตกบ ก็ควรเลือกฤดูกาลที่เหมาะสม คือ ฤดูฝน เพื่อจะได้นำสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติมาศึกษาได้ แทนที่จะใช้วิธีวาดภาพไข่กบ ลูกอ็อด และลูกกบ ประกอบคำอธิบาย 

   3. สื่อที่ต้องจัดทำขึ้น
สื่อชนิดนี้มีมากมายหลายชนิด สุดแต่ผู้ที่สนใจจะจัดซื้อ จัดหา หรือจัดทำขึ้น ได้แก่ ของจำลอง ภาพถ่าย ภาพวาด เกม วีดีทัศน์ ฯลฯ


ลักษณะการใช้สื่อ
แบ่งได้ 3 ประเภท 



  1.สื่อการสอนประเภทวัสดุ
เช่น สี กระดาน ชอล์ค ภาพ เปลือกหอย
หนังสือพิมพ์
   2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
เช่น สิ่งที่เป็นเครื่องมือ วิทยุ วีดีโอ กระดาน
 ป้ายนิเทศ เป็นต้น
   3.สื่อการสอนประเภทวิธีการ
เช่น  การสาธิต การทดลอง เล่นเกม
การเล่นบทบาทสมมติ


การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ
   1. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะประเภทของสื่อ
   2. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เองและ
   3. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพหรือสีที่เป็นสัญลักษณ์แทนหมวดหมู่ประเภทของสื่อ เพื่อเด็กจะได้เก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง
   4. ตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้ทุกครั้งว่ามีสภาพสมบูรณ์ จำนวนครบถ้วนหรือไม่
   5. ซ่อมแซมสื่อชำรุดและทำเติมส่วนที่ขาดหายไปให้ครบชุด

แนวทางการพัฒนาสื่อ
   1. ปรับปรุงสื่อให้ทันสมัยเข้ากับเหตุการณ์ ใช้ได้สะดวก ไม่ซับซ้อนเกินไป เหมาะสมกับวัยของเด็ก
   2. รักษาความสะอาดของสื่อถ้าเป็นวัสดุที่ล้างน้ำได้เมื่อใช้แล้วควรได้ล้างเช็ด หรืปัดฝุ่นให้สะอาดเก็บไว้เป็นหมวดหมู่ วางเป็นระเบียบ หยิบใช้ง่าย
   3. ถ้าเป็นสื่อที่ผู้เลี้ยงดูเด็กผลิตขึ้นมาใช้เองและผ่านการทดลองใช้มาแล้ว ควรเขียนคู่มือประกอบการใช้สื่อนั้น โดยบอกชื่อสื่อ ประโยชน์และวิธีใช้ รวมทั้งจำนวนชิ้นส่วนของสื่อในชุดนั้น และเก็บคู่มือไว้ในซองหรือถุงพร้อมสื่อที่ผลิต 
การประเมินการใช้สื่อ
 การประเมินการใช้สื่อควรพิจารณาจากองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ครูผู้ใช้สื่อ เด็กและสื่อ เพื่อจะได้ทราบว่าสื่อนั้นช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใดจะได้นำมาปรับปรุงการผลิตและการใช้สื่อให้ดียิ่งขึ้น โดยใช้วิธีสังเกตดังนี้
    1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด

    2. เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
    3. สื่อช่วยให้การสอนนั้นสอนได้ตรงกับจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่และถูกต้องตามเนื้อหาหรือไม่ มีความทันสมัยเพียงใด


สื่อชิ้นที่ 1    ( บันไดงูแสนสนุก )

                      


สื่อชิ้นที่ 2  ( ผลไม้บอกตัวเลข )